วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ศัพท์ที่ควรรู้ certificate of origin :co

ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

อีเมล พิมพ์ PDF
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin : CO) คือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามที่ระบุไว้ในแต่ละความตกลงของประเทศสมาชิกภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการได้ถิ่นกำเนิดของสินค้าที่ส่งมาจากประเทศสมาชิกภาคีผู้ส่งออก(ผู้ผลิต) ซึ่งจะนำมาใช้เป็นหลักฐานเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในประเทศสมาชิกภาคีผู้นำเข้า
ผู้นำเข้าควรตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ตามเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามข้อตกลงของเขตการค้าเสรีแต่ละฉบับ ก่อนนำมาแสดงต่อกรมศุลกากร

ประเภทของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)
1.    หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) คือเอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันกับผู้ซื้อว่า สินค้าที่ส่งออกไปนั้น ประกอบด้วยวัตถุดิบภายในประเทศ มีการผลิต หรือผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตภายในประเทศไทย
2.    หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin) คือเอกสารที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ โดยทำให้ผู้ซื้อสามารถมีสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนๆไขของแต่ละความตกลง ดังนี้
1)    ฟอร์ม A (Certificate of Origin Form A) ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิ์ อัตราภาษีพิเศษ ตามเงื่อนไข GSP ที่อนุญาตโดยกลุ่มประเทศ และประเทศต่างๆ อาทิ สหภาพยุโรป (EU), สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, แคนาดา, นอร์เวย์ เป็นต้น
2)    ฟอร์ม FTA (Certificate of Origin Form FTA) ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรตามเงื่อนไขของข้อตกลงเขตการค้าเสรี ปัจจุบันประเทศไทยมีเขตการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 7 เขตการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน  เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน   เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น และเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการนำเข้าโดยขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ไม่ต้องนำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดมาแสดงแต่ให้รับรองการได้ถิ่นกำเนิดของสินค้าในบัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือเอกสารกำกับสินค้าอื่นใด สำหรับบางเขตการค้าเสรีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจะมีชื่อเรียกเฉพาะดังนี้
เขตการค้าเสรีอาเซียน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม ดี
เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม อี
เขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม เอเจ

3)    ฟอร์ม GSTP (Certificate of Origin Form GSTP)ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรตาม จาก 40 ประเทศกำลังพัฒนา อาทิ แอลจีเรีย, อาร์เจนตินา, บังกลาเทศ, โบลิเวีย, บราซิล, แคเมอรูน, ชิลี และ คิวบา เป็นต้น
4)    ฟอร์ม AISP (Certificate of Origin Form FTA AISP) กัมพูชา  ลาว พม่าเป็นผู้ออกฟอร์มนี้ เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าประเทศไทย

การขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า
กรมศุลกากร ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับผู้ที่ต้องการขอหนังสือดังกล่าว สามารถติดต่อได้ที่
•    กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
•    หอการค้าไทย และ
•    สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin) โดยสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักบริการการค้าระหว่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 02-547-4753, 02-547-4832

http://www.customsclinic.org/index.php?option=com_content&view=article&id=169&Itemid=174&lang=th

หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

      ในสถานการณ์การค้าโลกในยุคปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากบรรยากาศการค้ามีแนวโน้มไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้นภาวะการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศทวีความเข้มข้น    ยิ่งขึ้น ประเทศต่าง ๆ ได้ปรับปรุงรูปแบบทางการค้าและใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมาปกป้องผลประโยชน์ของตน เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และการอุดหนุน ปัญหาการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมากมาย การพิสูจน์ความรับผิดชอบ หรือการหาข้อยุติข้อพิพาททางการค้า จึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ และเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยบ่งชี้ผู้รับผิดชอบ คือ “หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า” (Certificate of Origin) เนื่องจากเป็นหนังสือรับรองฯ ที่แสดงว่า สินค้านั้น ๆ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศใด นอกจากนี้หนังสือรับรองแหล่งกำเนิด ยังมีประโยชน์ในการขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร จากประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษรวม ทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายตลาดการค้า และสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาได้อีกทางหนึ่ง

หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า   แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ ผลิตถูกต้องตามกฏว่าด้วย แหล่งกำเนิดสินค้าและตามเงื่อนไขภายใต้ระบบสิทธิพิเศษของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ซึ่งจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีนำเข้าของประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ ได้แก่
     1.1   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบเอ (Certificate of Origin Form A)   เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอรเวย์ สวิตเซอร์แลนด์ บัลแกเรีย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค และสหพันธรัฐรัสเซีย
     1.2   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบดี (Certificate of Origin Form D) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลง ว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษ ที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff : CEPT) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
     1.3   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า แบบ จี.เอส.ที.พี (Certificate of Origin Form GSTP) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการ      แลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Global System of Trade Preferences : GSTP) ได้แก่ แอลจีเรีย อังโกลา อาร์เจนตินา บังกลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา สาธารณัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เอกวาดอร์ อิยิปต์ กานา กีเนีย กายอานา ไฮติ อินเดีย   อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อคโค โมซัมบิค นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ การ์ตา สาธารณรัฐเกาหลี โรมาเนีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย ประเทศไทย   ตรินิแดดและโตเบโก ตูนิเซีย อุรุกวัย เวเนซูเอล่า เวียดนาม ยูโกสลาเวีย ซาอีร์ และซิมบับเว

     1.4   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก สำหรับสินค้าหัตถกรรมตามรายการที่กำหนดไว้ในระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า
     1.5   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอด้วยมือ (Certificate Relating to Silk or Cotton Handloom Products) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกสำหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

2.   หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อรับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรองฯ มีแหล่งกำเนิดจากประเทศ   ผู้ออกหนังสือรับรองฯ จริงและใช้เป็นเอกสารประกอบการนำเข้าตามระเบียบการนำเข้าของประเทศปลายทางหรือตามเงื่อนไขของผู้นำเข้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร  ได้แก่ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าทั่วไป (Certificate of Origin : Form C/O ทั่วไป)
http://www.dft.moc.go.th/the_files/$$14/level3/certificate.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น